กล้องโทรทรรศน์อวกาศ “ยูคลิด” (Euclid) ขององค์การอวกาศยุโรป (ESA) ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวดฟอลคอน-9 ของบริษัทสเปซเอ็กซ์ จากฐานปล่อยในรัฐฟลอริดาของสหรัฐฯ เมื่อเวลา 22 นาฬิกาของวันเสาร์ ตามเวลาในไทย เพื่อสำรวจปรากฎการณ์ลึกลับของจักรวาลที่เรียกว่าสสารมืดและพลังงานมืด กล้องโทรทรรศน์อวกาศยูคลิดจะใช้ระยะเวลาเดินทางนาน 1 เดือนไปยังจุดหมายปลายทางในวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งอยู่ห่างจากโลกเกือบ 1.6 ล้านกิโลเมตร ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีความเสถียรทางแรงโน้มถ่วงระหว่างโลกและดวงอาทิตย์
รัสเซียเตือนสหรัฐฯ อย่าติดอาวุธนิวเคลียร์ให้โปแลนด์
เช็กสถิติก่อนวอลเลย์บอลหญิงไทย พบ บราซิล ศึกวอลเลย์บอลเนชั่นส์ลีก 2023 คำพูดจาก สล็อตทรูวอเลท
จากนั้น กล้องโทรทรรศน์อวกาศยูคลิด จะใช้กล้องโทรทรรศน์มุมกว้าง เพื่อสำรวจกาแล็กซีที่ห่างไกลจากโลกถึง 10,000 ล้านปีแสง ทั่วท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ไพศาลนอกเหนือจากกาแล็กซีทางช้างเผือก นอกจากนี้ล้องโทรทรรศน์ ยังติดตั้งเครื่องมืดที่ออกแบบมาสำหรับวัดความเข้มและสเปกตรัมของแสงอินฟราเรดจากกาแล็กซีไกลโพ้นได้อย่างแม่นยำ ข้อมูลเชิงลึกข้อมูลใหม่ที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศยูคลิด มูลค่า กว่า 49,000 ล้านบาท และได้รับการออกแบบให้มีอายุการใช้งานอย่างน้อย 6 ปี คาดว่าจะพลิกโฉมวงการฟิสิกส์ดาราศาสตร์และอาจทำให้เข้าใจธรรมชาติของแรงโน้มถ่วงเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ภารกิจของกล้องโทรทรรศน์มุ่งเน้นไปที่สสารมืด เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นแต่มีอิทธิพลในทางทฤษฎีว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้กาแล็กซีเกาะตัวโดยคงสภาพเป็นกลุ่มก้อนอยู่ได้ ส่วนพลังงานมืด เป็นพลังงานลึกลับที่คาดว่าทำให้การขยายของจักรวาลเร่งตัวขึ้น