จากกรณีนายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง หลังทำลายเชื้อไวรัสค้างคาวภายในศูนย์ฯ
โดยวันนี้ก่อนที่จะเข้าพบคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง มีประชาชนนำดอกไม้มามอบให้กับ นายแพทย์ธีระวัฒน์ เพื่อให้กำลังใจ หลังโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีคำสั่งให้สอบข้อเท็จจริง กรณีไม่ปฏิบัติงานด้วยความรัดกุม ทำให้เกิดความเสี่ยงด้านการบริหารงาน และเกิดความเสียหาย ทั้งในระบบระดับประเทศ กับเครือข่ายงานเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่
สั่งสอบ"หมอธีระวัฒน์"ปมวิจัยค้างคาว
ตั้งโควิดเป็น “โรคประจำถิ่น” หมอธีระวัฒน์ ถามกลับ สิทธิคนไทยหายหรือไม่
ซึ่งสาเหตุที่ถูกตั้งคณะกรรมการสอบฯ เชื่อว่า เกิดขึ้นหลังจากมีการทำลายตัวอย่างเชื้อไวรัสในค้างคาวทั้งหมดภายในศูนย์ฯ และได้ยุติการศึกษาเชื้อไวรัสในค้างคาวว่า มีแนวโน้มจะแพร่สู่มนุษย์ได้หรือไม่
โดยหมอธีระวัฒน์ เล่าย้อนไปเมื่อปี 2554 ทางศูนย์ฯ ได้เข้าร่วมโครงการศึกษาดังกล่าว ผ่านความเห็นชอบจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และมีองค์กรต่างประเทศเป็นผู้ให้ทุนวิจัย ก่อนที่ในปี 2563 ได้ยุติโครงการ และปี 2564 ได้ทำหนังสือแจ้งไปยังคณบดี คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และเครือข่ายขององค์กรอนามัยโลก ก่อนที่จะเริ่มทำลายตัวอย่างเชื้อไวรัสในค้างคาวตั้งแต่เดือนมีนาคม จนหมดในเดือนเมษายน ปีนี้
ส่วนสาเหตุที่ทางศูนย์ฯ ได้ยุติโครงการวิจัยและทำลายตัวอย่างเชื้อไวรัสในค้างคาว เนื่องจากไม่เห็นประโยชน์ของการวิจัยว่า เชื้อไวรัสในค้างคาวจะเข้าสู่มนุษย์ได้หรือไม่ และกังวลว่า หากมีการติดเชื้อในห้องปฏิบัติการ แล้วจะระบาดออกสู่ชุมชน
ซึ่งหมอธีระวัฒน์ บอกว่า เขาไม่อยากเห็นการระบาดเหมือนเชื้อโควิด-19 แบบที่อู่ฮั่น และ ส่วนตัวเชื่อว่า การะบาดดังกล่าว ไม่ได้เกิดจากธรรมชาติ แต่เกิดขึ้นจากการตัดต่อพันธุกรรมภายในห้องปฏิบัติการ ทำให้มองว่า หากเก็บตัวอย่างเชื้อไว้ ในอนาคต อาจจะถูกนำไปตัดต่อพันธุกรรมจนเกิดการระบาดเหมือนโควิด-19 ได้ ดังนั้น จึงตัดสินใจทำลายเชื้อทิ้งคำพูดจาก เว็บตรง
ทั้งนี้หมอธีระวัฒน์ ยืนยันว่า การทำลายตัวอย่างเชื้อไวรัสจากค้างคาวของศูนย์ฯ เป็นไปตามขั้นตอน พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า การตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงนี้ จะนำไปสู่การยุบศูนย์ฯ หรือไม่ รวมถึงผลของการสอบอาจจะให้ตัวเองนั้นออกจากการปฏิบัติงานด้วยหรือไม่
ด้านรองศาตราจารย์ นายแพทย์ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ชี้แจงว่า คณะกรรมการชุดที่ตั้งขึ้น จะทำการหาข้อเท็จจริงของเรื่องราวที่เกิดขึ้น ยืนยันว่ายังไม่ใช่การสอบสวน เบื้องต้น มองว่า หมอธีระวัฒน์ ไม่ได้แจ้งหน่วยงานต้นสังกัดเรื่องการทำลายเชื้อฯ ทั้งที่ตามปกติจะต้องแจ้งให้ทราบก่อน เพราะ ถือเป็นเรื่องสำคัญ และการทำโดยพลการ อาจเข้าข่ายทำลายทรัพย์สิน โดยไม่ได้ขออนุญาต
ส่วนข้อสังเกตว่า ผลการตรวจสอบครั้งนี้ อาจจะนำไปสู่การยุบศูนย์โรควิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ รองศาตราจารย์ นายแพทย์ฉันชาย ระบุว่า ศูนย์ฯ เป็นของสภากาชาดไทย ดังนั้นการตรวจสอบจึงไม่เกี่ยวข้องกับการยุบศูนย์ฯ
ตรวจหวยงวดนี้ – ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ลอตเตอรี่ 1/11/66
เปิดสถิติ แบรนด์สมาร์ตโฟนที่ครองใจชาวไทยมากสุด ไตรมาส 3 ปี 2566
กาง "ปฏิทินเงินเดือนข้าราชการปี 67" พร้อมเปิดเงื่อนไขให้แจ้งหากต้องการรับ 2 รอบ